ออนไลน์ : 13
สภาพทั่วไปและข้อมูลทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนเปือย
————————————–
๑. ข้อมูลทั่วไป
สภาตำบลโนนเปือย ได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล โดยประกาศกระทรวงมหาดไทย ลำดับที่ ๒๐๕๑ ลงวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๙ ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่มที่ ๑๑๓ ตอนพิเศษ ๕๒ ง ลงวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๙
๑.๑ ที่ตั้ง (แสดงที่ตั้งและระยะห่างจากอำเภอ)
ตำบลโนนเปือย เป็นตำบลหนึ่งใน ๙ ตำบล ของอำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลโนนเปือย ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑๔ บ้านโนนเปือย เนื้อที่ ๑๐ ไร่ ห่างจากอำเภอกุดชุมประมาณ ๔ กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ ๕๖๙ กิโลเมตร
๑.๒ อาณาเขต (แสดงเนื้อที่โดยประมาณเป็นตารางกิโลเมตรและไร่)
ตำบลโนนเปือย มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๔๙,๓๘๔ ไร่ หรือประมาณ ๗๙.๐๑ ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับหน่วยการปกครองท้องถิ่นอื่น ๆ ดังนี้
– ทิศเหนือ จด ตำบลกุดชุม อำเภอกุดชุม และตำบลคำเตย อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร
– ทิศใต้ จด ตำบลกำแมด อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
– ทิศตะวันออก จด ตำบลน้ำคำ อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร
– ทิศตะวันตก จด ตำบลกุดชุม และตำบลนาโส่ อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
๑.๓ ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง และลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ๑๒๕-๑๕๐ เมตร หมู่บ้านส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวน สำหรับภูมิอากาศ จังหวัดยโสธร มี ๓ ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว ความชื้นสัมพัทธ์ เฉลี่ยเท่ากับ ๗๑.๑% อุณหภูมิสูงสุด ๔๑.๑ องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด ๑๒.๒ องศาเซลเซียส
๑.๔ เขตการปกครอง/ข้อมูลประชากรในพื้นที่
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน | จำนวนประชากร |
จำนวนครัวเรือน |
||
ชาย |
หญิง |
รวม |
|||
๑ | บ้านโนนเปือย |
307 |
322 | 629 |
199 |
๒ | บ้านผักกะย่า |
436 |
401 | 837 |
248 |
๓ | บ้านกุดปลาดุก |
329 |
305 | 634 |
168 |
๔ | บ้านดอนหวาย |
345 |
334 | 679 |
176 |
๕ | บ้านเหล่าใหญ่ |
131 |
119 | 250 |
64 |
๖ | บ้านนาสะแบง |
227 |
233 | 460 |
152 |
๗ | บ้านหนองมุที |
81 |
84 | 165 |
57 |
๘ | บ้านสุขสว่าง |
185 |
174 | 359 |
96 |
๙ | บ้านสุขเกษม |
339 |
314 | 653 |
176 |
๑๐ | บ้านคำม่วงไข่ |
331 |
295 | 626 |
189 |
๑๑ | บ้านดอนจันทร์แดง |
192 |
189 | 381 |
113 |
๑๒ | บ้านชลประทาน |
118 |
108 | 226 |
65 |
๑๓ | บ้านแสนสำราญ |
124 |
124 | 248 |
83 |
๑๔ | บ้านโนนเปือย |
298 |
321 | 619 |
180 |
รวม |
3,443 |
3,323 | 6,766 |
1,966 |
ที่มา : สำนักบริหารการทะเบียนอำเภอกุดชุม ณ เดือน เมษายน ๒๕๕7
๒. สภาพทางเศรษฐกิจ
๒.๑ อาชีพ
ประชาชนส่วนใหญ่ประมาณ ๙๕% ประกอบอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก และมีอาชีพเสริมเกี่ยวกับเกษตรกรรม ได้แก่ การทำไร่ การเลี้ยงสัตว์และการปลูกพืชผักสวนครัว
๒.2 พืชเศรษฐกิจ
พืชเศรษฐกิจที่สำคัญในตำบลโนนเปือย ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ยูคาลิปตัส
๒.๓ หน่วยธุรกิจในเขตหมู่บ้าน
– ปั๊มน้ำมันขนาดเล็ก (หลอด)ประเภท ๒ จำนวน ๑๒ แห่ง
– โรงสีข้าวขนาดเล็ก จำนวน ๗๐ แห่ง
– ร้านขายของเบ็ดเตล็ด จำนวน ๓๓ แห่ง
– อุตสาหกรรมในครัวเรือน จำนวน ๑๐ แห่ง
๓. สภาพทางสังคม
๓.๑ การศึกษา
– โรงเรียนประถมศึกษา ในเขตพื้นที่ตำบลโนนเปือย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ยโสธร เขต ๒ มีจำนวน ๔ แห่ง ๑ สาขา
๑. โรงเรียนชุมชนบ้านโนนเปือย ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๑๔ บ้านโนนเปือย
๒. โรงเรียนบ้านผักกะย่า ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๑๑ บ้านผักกะย่า
๓. โรงเรียนบ้านหวายกุดสว่าง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๔ บ้านดอนหวาย
๔. โรงเรียนบ้านสุขเกษม ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๙ บ้านสุขเกษม
๕. โรงเรียนบ้านสุขเกษม (สาขาคำม่วงไข่) ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๑๐ บ้านคำม่วงไข่
– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีจำนวน ๓ แห่ง
๑. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโนนเปือย ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๑๔ บ้านโนนเปือย
๒. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านผักกะย่า ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๒ บ้านผักกะย่า
๓. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสุขเกษม ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๙ บ้านสุขเกษม
– ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน ๘ แห่ง ม.๑,๕,๖,๗,๘,๙,๑๐,๑๒
๓.๒ สถาบันและองค์กรทางศาสนา
– วัด ๗ แห่ง คือ วัดบ้านโนนเปือย, วัดบ้านผักกะย่า, วัดบ้านกุดปลาดุก, วัดบ้านดอนหวาย, วัดบ้านนาสะแบง, วัดบ้านชลประทาน, วัดจันทร์ลับ
– สำนักสงฆ์ ๗ แห่ง คือ สำนักสงฆ์บ้านผักกะย่า(วัดป่า), สำนักสงฆ์บ้านเหล่าป่าไผ่, สำนักสงฆ์บ้านสุขสว่าง, สำนักสงฆ์บ้านสุขเกษม, สำนักสงฆ์บ้านคำม่วงไข่, สำนักสงฆ์บ้านดอนจันทร์แดง, สำนักสงฆ์บ้านแสนสำราญ
– ที่พักสงฆ์ ๑ แห่ง คือ ที่พักสงฆ์ถ้ำบังโอ
๓.๓ ด้านสาธารณสุข
– โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ๒ แห่ง ประกอบด้วย
๑. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนเปือย เจ้าหน้าที่ ๓ คน
๒. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสุขเกษม เจ้าหน้าที่ ๓ คน
– อัตราการมีส้วมใช้ ๑,966 ครัวเรือน
๓.๔ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
– เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในตำบล ๑๒๐ คน
– อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน(อปพร.) ๑๓๕ คน
– มีเครื่องดับเพลิง ๗ เครื่อง
– ปืน อพป. ๔๒ กระบอก
– ตำรวจชุมชนประจำตำบล ๒ คน
๔. การบริการพื้นฐาน
๔.๑ การคมนาคม
– มีถนนลาดยาง ๒ เส้น เชื่อมระหว่างอำเภอกุดชุมกับบ้านนาสะแบง โนนเปือย ดอนจันทร์แดง นอกจากนั้นถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้านเป็นถนนลูกรัง
– มีถนนลาดยางภายในหมู่บ้าน คือ หมู่ ๒ หมู่ ๑ และหมู่ ๖
– มีถนนคอนกรีตภายในหมู่บ้าน หมู่ ๑, หมู่ ๒, หมู่ ๓, หมู่ ๔, หมู่ ๕, หมู่ ๖, หมู่ ๗, หมู่ ๘, หมู่ ๙ ,หมู่ ๑๐, หมู่ ๑๑, หมู่ ๑๒, หมู่ ๑๓ และ หมู่ ๑๔
การคมนาคม
– เป็นถนนลาดยาง ยาว ๑๔,๐๐๐ เมตร
– เป็นถนนลูกรัง ยาว ๔๐,๕๐๐ เมตร
– เป็นถนนคอนกรีต ยาว ๓๐,๐๘๕ เมตร
– เป็นถนนดิน ยาว ๙๕,๙๐๐ เมตร
๔.๒ การโทรคมนาคม
– ตู้ไปรษณีย์ ๕ แห่ง
– ตู้โทรศัพท์สาธารณะ ๔๑ แห่ง
๔.๓ การไฟฟ้า
– มีไฟฟ้า ๑,966 ครัวเรือน
๔.4 แหล่งน้ำธรรมชาติ
– ห้วย ๒๓ สาย
– หนอง ๑๕ แห่ง
– คลอง ๓ แห่ง
๔.๖ แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
– ฝาย ๑๘ แห่ง
– บ่อโยก ๖๖ แห่ง ใช้การได้ ๓๘ แห่ง ใช้การไม่ได้ ๒๖ แห่ง
– ประปา ๑๒ แห่ง ใช้การได้ ๑๐ แห่ง ใช้การไม่ได้ ๒ แห่ง
– คลองส่งน้ำ ๒ แห่ง
๕. ข้อมูลอื่นๆ
๕.๑ ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
– มีป่าสงวน ๕ หมู่ ในหมู่ ๘, ๙, ๑๐,๑๒,๑๓
๕.๒ มวลชนจัดตั้งขึ้น
– กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ๒ รุ่น ๑๓๔ คน
– สาธิตการเกษตร ๔๐ คน
– กลุ่มเยาวชน ๑๕๐ คน
– สหกรณ์การเกษตร ๑๒๗ คน
– กลุ่มแม่บ้าน ๓๒๓ คน
– กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) ๑๔๔ คน
– ฌาปนกิจสงเคราะห์ ๓,๒๔๐ คน
– กลุ่มอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง(อพป.) ๑,๑๑๒ คน
– ชุดรักษาความสงบในตำบล(ชรต.) ๖๓ คน
– อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ๑๓๕ คน
๖. ข้อมูลด้านศักยภาพของตำบล
๖.๑ การรวมกลุ่มของประชาชน
– กลุ่มอาชีพ ๑๔ กลุ่ม
– กลุ่มออมทรัพย์ ๑ กลุ่ม
– กลุ่มเกษตรกร ๒ กลุ่ม